top of page

สํานวน คือ คําพูด หรือ ถ้อยคําที่ค่อนข้างกระทัดรั ดูไพเราะสละสลวย สำนวนไทยจะมีความหมายโดยนัย เป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ จะไม่แปลความหมายตรงตามตัวอักษร

 

ตัวอย่างสำนวน เช่น ปากเสีย, ไขสือ ยกเมฆ, ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ ฯลฯ

 

คําพังเพย คือ ถ้อคําที่เปรียบเทียบเหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่พบเห็นได้ในการดํารงชีวิตของคนรุ่นก่อน โดยมากไม่เน้นการสั่งสอน แต่ ใช้ ในทํานองเสียดสีประชดประชันเพื่อให้สะท้อนความคิด ความเชื่อถือ และเป็นคติเตือนใจ หรือเป็นข้อคิดสะกิดใจให้นํามาปฏิบัติ

 

ตัวอย่างคำพังเพย เช่น งมเข็มในมหาสมุทร, ขิงก็ราข่าก็แรง, ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ฯลฯ

 

สุภาษิต คือ คำกล่าวที่มีคติสอนใจ สุภาษิตจึงมีลักษณะเดียวกับสำนวนและคำพังเพย แต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอน เตือนสติให้คิด ไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความจริง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วๆ ไป ภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย

 

ตัวอย่างสุภาษิต เช่น ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว,  ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน, คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร ฯลฯ

 

 

              สำนวน สุภาษิต คำพังเพยนั้น ดูเผินๆจะคล้ายกันมากจนแยกกันแทบไม่ออก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทั้ง ๓ คำมีความแตกต่างกันอยู่ โดยที่สํานวนไทยจะเป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบและมักจะไม่แปลความหมายตรงๆ เช่น กินน้ำใต้ศอก ส่วนสุภาษิตจะเป็นเชิงสั่งสอนหรือให้ข้อคิด เช่น หัวล้านได้หวี วานรได้แก้ว และสุดท้ายคำพังเพย จะเป็นลักษณะของการเปรียบเทียบของสองสิ่ง เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ เป็นต้น

bottom of page